หม้อต้มขนาดใหญ่พิเศษ ด้ามชงและตัวโยก ทำจากชุดแต่งงานไม้ อิตาลี
หมวดหมู่ : เครื่องชงกาแฟ ,  เครื่อง ขนาดเล็ก ,  La Pavoni , 
แบรนด์ : La pavoni
Share
LA PAVONI : Professional Wood Editon
THE LEGEND OF LA PAVONI SINCE 1905
รุ่น Professional 1976
ศูนย์จำหน่ายเครื่องชงกาแฟ La Pavoni นำเข้าจากอิตาลี
บริษัทเป็นตัวแทนนำเข้าเครื่องชงกาแฟ La Pavoni อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 2012
ความเป็นมาของ Lever Machine
เครื่องชงกาแฟ รุ่น Europiccola ถือว่าเป็นเครื่องชงกาแฟรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ La Pavoni มีการพัฒนามาทั้งหมด 3 Generation ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี และต่อมาในปี 1976 -1977 เครื่องชงกาแฟขนาดหม้อต้ม 1.6 ลิตรก็ได้กำเนิดขึ้น มันมีชื่อว่า รุ่น Professional โดยมันมีขนาดหม้อต้มที่ใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า รองรับการชงกาแฟต่อเนื่องเพิ่มได้มากกว่าเดิม แรงสตีมไอน้ำก็แรงกว่าและยาวนานกว่าเดิม
จุดเด่นและความคุ้มค่า
รุ่น Professional มีขนาดหม้อต้มใหญ่กว่ารุ่นปกติ 1 เท่าตัว จึงเหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการนำไปใช้ในการลงทุนธุรกิจร้านกาแฟในสไตล์ Slow Bar
ข้อมูลทางเทคนิค
Model | Height (cm) | Width (cm) | Depth (cm) | Weight (kg/lbs) | Voltage (VAC) | Standard Watts (W) | Coffee Boiler (L) | Steam Time (Min) |
1 Group | 32 | 20 | 29 | 5.5 | 220-240V | 950 (220-240V) | 1.6 | 20 |
ส่วนประกอบต่างๆ
วิธีใช้งานเครื่อง (ดูคลิปด้านล่าง)
สิ่งที่ควรทราบ (เครื่องไม่ได้เหมาะกับทุกคน)
คำเตือน
ความแตกต่างของรุ่น
Model รุ่นเครื่อง | Europiccola | Professional | Expo2015 | Esprerto Abile |
ขนาดหม้อต้ม (ลิตร) | 0.8 | 1.6 | 1.6 | 1.6 |
เกจแรงดันหม้อต้ม | ไม่มี | มี | มี | มี |
วัสดุวาล์วปิดฝา | พลาสติกดำ | ไม้ | ไม้ | ไม้ |
วัสดุด้ามชง | พลาสติกดำ | ไม้ | ไม้ | ไม้ |
วัสดุที่จับต่างๆ | พลาสติกดำ | ไม้ | ไม้ | ไม้ |
ชุดต่อคาปูชิโน่ | มี | มี | มี | มี |
ฝาถาดน้ำทิ้ง | พลาสติก | สแตนเลส | สแตนเลส | สแตนเลส |
ด้ามชง 2 ช็อต | 1 อัน | 1 อัน | 1 อันสีทอง | 1 อันสีเงิน |
ด้ามชง Bottomless | ไม่มี | ไม่มี | 1 อันสีทอง | 1 อันสีเงิน |
โลโก้นก | ไม่มี | ไม่มี | นกสีทอง | นกสีเงิน |
เกจแรงดันการสกัด | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
แทมเปอร์โลหะ | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
สติ๊กเกอร์องศา | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
ตะแกรงพิเศษ IMS | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
ฐานด้านล่าง | ดำ | ดำ | ดำ | แดง |
คำถามที่พบบ่อยการแก้ปัญหาพื้นฐาน
เทคนิคขั้นสูง
ปริมาณน้ำกาแฟในการโยก
การโยกหัวชงขึ้นจะส่งให้น้ำร้อนที่หม้อต้มเดินทางเข้าสู่หัวชงกาแฟด้วยแรงดันประมาณ 0.7-1.2 บาร์ (แล้วแต่การตั้งค่า) เมื่อแรงดันที่หัวชงกาแฟมีระดับแรงดัน สูงเท่ากันกับแรงดันหม้อต้ม เท่ากับว่าน้ำที่หัวชงกาแฟนั้นเต็มแล้ว การโยกด้ามชงเพื่อส่งน้ำกาแฟที่หัวชงไปผ่านผงกาแฟในด้ามชงนั้นจะมีปริมาณน้ำประมาณ 45 -50 ซีซี โดยถ้าในด้ามชงกาแฟมีผงกาแฟอยู่ปริมาณน้ำกาแฟที่สกัดได้จริงจะไม่เท่ากับปริมาณน้ำที่หัวชงเพราะผงกาแฟได้ซับน้ำเอาไว้
จากการทดสอบ หากเราใส่กาแฟลงไปด้ามชงประมาณ 18 กรัม และเริ่มโยกก้านลง เมื่อน้ำหยดแรกออกจากก้านชง เราจะได้ปริมาณน้ำกาแฟประมาณ 28-30 ซีซี แต่ถ้าเราให้น้ำกาแฟไหลลงมานิดหน่อยเราจะสามารถสกัดปริมาณน้ำกาแฟได้มากกว่านั้น หรือถ้าต้องการน้ำกาแฟมากกว่านั้นคือการ ลดปริมาณผงกาแฟลงไปอีกจาก 18 กรัม เหลือ 14-15 กรัม
เวลาในการโยกก้านขึ้นและพัก
เมื่อทำการยกก้านโยกขึ้นน้ำร้อนจากภายในหม้อต้มใช้เวลาเดินทางมาที่หัวชงกาแฟภายเวลา 5-8 วินาทีก็จะเต็มหัวหม้อต้ม ตอนนี้เราจะตัดสินใจว่าเราจะโยกก้านชงลงเมื่อไร โดยระยะเวลาที่นานจะเพิ่มความเข้มข้นให้กับกาแฟ แต่ถ้านานเกินไปจะทำให้กาแฟสกัดออกมาจนรสชาติกาแฟติดขมกระด้าง เราแนะนำว่าถ้าเน้นชงกาแฟเอสเพรสโซ่ร้อน และไม่อยากให้กาแฟขม ควรโยกก้านลงตั้งแต่วินาทีที่ 8-10 ถ้าต้องการเข้มขมก็อาจจะนานกว่านั้นเช่น 11-15 วินาที
รสชาติกาแฟที่ได้จากการโยก
- โยกเบาช่วงแรกและกดแรงขึ้นเรื่อยๆ ผลลัพธ์จะทำให้กาแฟมีบอดี้(เข้มข้น) ที่สูง ความเปรี้ยวจะน้อย ความขมจะเยอะ
- โยกแรงไปหาเบา กาแฟจะบอดี้น้อยลง แต่รสชาติกาแฟจะชัดเจนมากขึ้น ความเปรี้ยวกาแฟจะมากขึ้น และเป็นมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ทานกาแฟในสไตล์นี้
- ใช้เวลาโยกนาน กาแฟจะเปรี้ยวน้อยลง ความเข้มข้นมากขึ้น ความขมมากขึ้น เหมาะสำหรับการชงกาแฟใส่นม
- ใช้เวลาโยกสั้น กาแฟจะมีรสชาติที่ชัด ความเปรี้ยวก็จะชัด กลิ่นก็จะชัด
กาแฟคั่วอ่อน
- กาแฟสกัดได้ยาก การโยกก้านขึ้นและรอควรจะนานกว่ากาแฟคั่วเข้ม เพราะเราต้องการให้น้ำร้อนซึมเข้าไปในกาแฟเพื่อสกัดรสชาติออกมาได้มากกว่า
- ผงกาแฟที่บดออกจากเครื่องบดในกาแฟคั่วอ่อนจะมีความละเอียดมากกว่ากาแฟคั่วเข้ม เพราะมีช่องว่างภายในเมล็ดน้อยกว่า ทำให้เบอร์บดของกาแฟคั่วอ่อนจะตั้งไว้ละเอียดกว่ากาแฟคั่วเข้ม
แรงดันค่าโรงงานตั้งค่า 0.7-0.9 บาร์
เป็นค่าที่ทำให้เราชงกาแฟ เอสเพรสโซ่ได้รสชาติดีเยี่ยม แต่ก็แรกมาด้วยความร้อนที่ต่ำกว่า คือ อุณหภูมิน้ำร้อนในหม้อต้มจะอยู่ที่ประมาณ 115-117 องศา สกัดกาแฟที่อุณหภูมิ ค่าเฉลี่ย 88-92 องศา
แรงดันที่เหมาะสำหรับคนชอบทานกาแฟใส่นม
แรงดันที่เหมาะสมควรอยุ่ที่ 1.0-1.2 บาร์ ยิ่งสูงน้ำกาแฟก็จะยิ่งร้อน แรงสตีมก็จะแรงและแห้งไม่มีน้ำปนออกมา รสชาติกาแฟใส่นมจะมีรสชาติที่ดีเยี่ยม
</p