เทคนิคการวางก้านสตีม และ ระดับความสูงของก้านสตีม

4169 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคการวางก้านสตีม และ ระดับความสูงของก้านสตีม

เทคนิคการวางก้านสตีม และ ระดับความสูงของก้านสตีม

ตำแหน่งการวาง
ตำแหน่ง A การวางการสตีมชิดกับขอบของพิชเชอร์ (ตามภาพ) ผลลัพธ์คือ นมไม่หมุน จะเกิดเสียงดังเมื่อสตีม เนื่องจากไอน้ำจะถูกตีอัดเข้าข้างพิชเชอร์ และได้ฟองนมที่หยาบ
ตำแหน่ง B การวางก้านสตีมที่ถูกต้อง นั่นคือให้ห่างจากปากพิชเชอร์ 2 ซม. และห่างจากด้านข้างพิชเชอร์ประมาณ 1 ซม. (ตามภาพ) ผลลัพธ์คือ น้ำนมจะหมุนเป็นวงกลม ได้ฟองนมที่เนียนละเอียด
ตำแหน่ง C การวางก้านสตีมตรงกลางพิชเชอร์ (ตามภาพ) ผลลัพธ์คือ น้ำนมจะไม่หมุน แต่จะถูกตีขึ้นมาตามแรงดันไอน้ำ ส่งผลคือจะได้ฟองนมที่หยาบ

ระดับความสูง
ระดับ D ระดับการจุ่มก้านสตีมในโฟมนมที่น้อยเกินไป (ตามภาพ) หรือการจุ่มก้านสตีมเพียงแค่ผิวๆของน้ำนม ผลลัพธ์คือ ทำให้ได้ฟองนมที่เยอะ แต่จะเป็นฟองนมหยาบ
ระดับ E ระดับการจุ่มก้านสตีมลงไปประมาณ 2ใน3 ของห้วสตีม (ตามภาพ) คือระดับที่ถูกต้อง ผลลัพธ์คือ ได้ฟองนมที่ละเอียด เนียน เป็นครีมสวยงาม
ระดับ F ระดับการจุ่มก้านสตีมที่ลึกเกินไป (ตามภาพ) ผลลัพธ์คือ นมได้รับความร้อนเป็นนมร้อน แต่ไม่เกิดเป็นฟองนม
  ตำแหน่งการวาง และระดับความสูงของก้านสตีม สำคัญมากนะคะเพื่อนๆ ถ้าวางถูกนมก็จะวนดี และไม่จำเป็นต้องขยับพิชเชอร์ตลอดทั้งการสตีม ทำให้ได้ฟองนมที่เนียนสวยค่ะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้